การจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นที่นิยม
และเชื่อว่าเป็นแนวการสอนที่ฝึกให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิด ทั้งคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ การทำงานร่วมกัน
ทั้งได้ถูกกำหนดว่าเป็นแนวการสอนที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่
21
และมีการแนะนำไว้ในแนวการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 นอกจากนั้น ยังมีการประกวดโครงงาน ในกิจกรรมการประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ ของนักเรียนทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชาติ
แต่การจัดการเรียนการสอนโครงงานให้เต็มรูปแบบและพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถอย่างที่ต้องการนั้น
ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจการสอนโครงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงงานทางภาษา
ซึ่งหมายถึงภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)นั้นมีความแตกต่างจากการสอนโครงงานวิชาอื่น
ที่จัดทำภายใต้การสื่อสารด้วยภาษาแม่(ภาษาไทย)
1. ความหมาย และความสำคัญ
สุคนธ์ สินธพานนท์ (2545 : 67) ได้ให้ความหมายของ โครงงานหรือโครงการไว้ว่า โครงการ (Project) หมายถึง
ขั้นตอนหรือกระบวนการวิธีการทำงานอย่างมีระบบ ตั้งแต่ต้นจนแล้วเสร็จ
ซึ่งผู้ทำอาจทำคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และได้กล่าวถึง วิธีสอนแบบโครงงาน (Project
Method) ว่าหมายถึง
วิธีสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนหรือศึกษาค้นคว้า
กระทำในสิ่งที่ตนสนใจและเป็นผู้วางแผนการทำงานนั้นด้วยตนเอง
โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะแนวทาง
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2544 : 30-33) ได้กล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ และหลักการของโครงงานไว้ว่า โครงงาน หมายถึง
กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบซึ่งมุ่งส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ร่วมกันวางแผนเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือแก้ปัญหาด้วยการศึกษาค้นคว้า
ทดลองตามขั้นตอน และส่วนประกอบของโครงงาน
โดยเมื่อปฏิบัติการโครงงานเสร็จแล้วต้องได้ความรู้ใหม่และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อมได้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนเป็นหลัก
มุ่งเน้นที่การปฏิบัติจริง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักการศึกษาหลานท่าน อาทิ John Dewey,
Piaget และ Vygotsky ที่มีแนวคิดทางการศึกษา
คือ มุ่งเน้นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
การเรียนรู้แบบโครงงานจะช่วยสร้างทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในด้านการคิดอย่างมีระบบ
รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มีทักษะการตั้งคำถามและรู้จักวิธีแสวงหาคำตอบ มีทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน
ตลอดจนทักษะการคิดตัดสินใจในการสร้างทางเลือกอย่างมีเหตุผล
ไซมอน ไฮเนส (Simom
Haines:2002) ได้ให้ความหมายของโครงงานไว้ว่า โครงงาน คือ
กิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายและมีจุดเน้นที่หัวข้อเรื่องมากกว่าที่จะเน้นเป้าหมายทางภาษาที่เฉพาะเจาะจง
ความสำคัญของกิจกรรมนี้อยู่ที่ตัวนักเรียนเองเป็นผู้มีบทบาทในขั้นตอนแรกของการเลือกเรื่องที่จะทำและตัดสินใจว่าควรจะเลือกวิธีแบบใดจึงจะเหมาะสม
ตลอดจนจัดตารางเวลาและชิ้นงานบั้นปลายของโครงงาน ด้วยเหตุที่ไม่ได้มีเป้าหมายทางภาษาใดๆ
กำหนดไว้ล่วงหน้า
ประกอบนักเรียนต้องพุ่งเป้าของความพยายามและความตั้งใจทั้งปวงไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้
โครงงานที่ทำจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำภาษาและทักษะที่มีมาใช้ในบริบทที่ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติ
โครงงานนั้นอาจเป็นกิจกรรมที่ทำแบบเข้มในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
หรืออาจเป็นการศึกษาหาความรู้เสริมซึ่งใช้เวลา 1-2
ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน
สตอลเลอร์ (Fredericka L. Stoller 2004, 110 Quoted in
Jack C. Richards
and
Willy A . Renanday :2002, 110) ได้สรุปหลักสำคัญ ของการสอนแบบ
Project Work ไว้ดังนี้
1)
การสอนแบบโครงงานเน้นที่การเรียนรู้สาระเนื้อหามากกว่าภาษาเฉพาะเรื่อง
และความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหาต่างๆ ในสภาพปัจจุบัน
สามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้
2)
การสอนแบบโครงงานเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญแม้ว่า
ครูจะมีบทบาทเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำตลอดระยะเวลาในกระบวนการทำงาน
3)
การสอนแบบโครงงานเป็นการสอนที่เน้นความร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน
นักเรียนสามารถทำโครงงานได้ทั้งแบบเป็นกลุ่มเล็กหรือทั้งห้องใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ร่วมคิดและสำรวจดลองไปพร้อมกันได้
4)
การสอนแบบโครงงานนำไปสู่การบูรณาการทักษะในการหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5)
การสอนแบบโครงงานนำไปสู่การนำเสนอชิ้นงานสุดท้าย ( End Product) อันได้แก่ การนำเสนอปากเปล่า, การนำเสนอเป็นโปสเตอร์ , การจัดบอร์ด,
การเขียนรายงาน หรือ การแสดงบนเวที ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน
คุณค่าของโครงงานหรือ Project work มิได้อยู่ที่ End Product หรือชิ้นงานสุดท้ายเท่านั้น
แต่มีความสำคัญอยู่ที่กระบวนการทำงานที่จะทำให้งานสำเร็จลงได้
การสอนแบบโครงงานจึงมีความสำคัญอยู่ในทั้งกระบวนการ
และชิ้นงานซึ่งกระบวนการทำงานนั้นเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนทั้งความถูกต้อง
และความคล่องแคล่ว ทางภาษา (Fluency and accuracy)
6)
การสอนแบบโครงงานนั้นเต็มไปด้วยแรงกระตุ้น แรงผลักดัน ความท้าท้ายและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนพร้อมกับการได้พัฒนาทักษะทางภาษาการเรียนรู้สาระต่างๆ
ในเชิงลึก
จากข้อมูลที่ได้นำเสนอมา สามารถสรุป
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน ได้ว่า
โครงงานเป็นกิจกรรมที่ฝึกการทำงานและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบระเบียบ มีกระบวนการ
ผู้เรียนควรฝึกฝน ในวัยเรียน
และการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ การทำงานร่วมกัน
มากกว่าการแข่งขัน ผู้เรียนได้เรียนภาษา ในหลายหน้าที่
(Function) และโครงงานมีชิ้นงานสุดท้ายที่ท้าทายให้ผู้เรียนต้องทำให้สำเร็จ
ได้ฝึกความรับผิดชอบ และภาระงานหรือชิ้นงานที่ทำเองนั้นเรียนว่าโครงงาน
2. ลักษณะและ ประเภทของโครงงาน
ลักษณะโครงงาน ตามแนวคิดของ
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2544 : 13) ได้แบ่ง ลักษณะโครงงานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1)
โครงงานตามสาระการเรียนรู้
เป็นโครงงานที่ผู้เรียนเลือกหัวข้อที่จะศึกษาจากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียนมากำหนดเป็นหัวข้อโครงงาน
โดยบูรณาการความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ แล้วไปค้นคว้าในสาระการเรียนรู้ที่สนใจและจะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ
2) โครงงานตามความสนใจ
เป็นโครงงานที่ผู้เรียนสนใจจะศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ
อาจเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน สภาพสังคม
หรือประสบการณ์ที่ยังต้องการคำตอบข้อสรุปซึ่งอาจอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียน
แต่ใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปแสวงหาคำตอบในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ
3. ประเภทของโครงงาน
ตามแนวคิดของวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545: 200-201) ได้แบ่งโครงงานไว้ 4 ประเภท ดังนี้
1) โครงงานประเภทสำรวจ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลต่างๆ
แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมากระทำเป็นหมวดหมู่ แล้วนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ที่ได้ศึกษา
2)
โครงงานประเภททดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบโดยการออกแบบการทดลอง
และดำเนินการทดลอง เพื่อหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ หรือเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3)
โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาหรือประดิษฐ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่
หรือยังไม่เคยมีมาก่อน
หรือการปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้น หรืออาจเป็นการสร้างแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
4) โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎี การอธิบาย
การทบทวนวรรณคดี การค้นหาองค์ความรู้ เป็นโครงงานที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ
ความเป็นมา ผลกระทบ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
แล้วนำหลักการหรือทฤษฎีมาสนับสนุน
สตอลเลอร์ (Fredericka L. Stoller 2004,110
Quoted in Jack C. Richards and Willy A . Renanday:2002, 110) ได้กล่าวถึงรูปแบบของโครงงานทางภาษาว่า
ขึ้นอยู่กับระดับความสนใจ ความต้องการที่จะเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ทำ
โดยอ้างแนวคิดของ เฮนรี่ (Henry:1994) ว่าโครงงานมี 3 รูปแบบ
คือ 1) Structure Project เป็นโครงงานแบบมีโครงสร้างซึ่งครูเป็นผู้กำหนดทั้งหัวเรื่อง,
วัสดุอุปกรณ์, แนวคิดทฤษฎี และการนำเสนอชิ้นงานสุดท้าย 2) Unstructured
project
เป็นโครงงานที่ไม่กำหนดโครงสร้างโดยนักเรียนสามารถคิดทำได้หลากหลาย 3) Semi
structured Project เป็นโครงงานกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
ซึ่งเกิดจากการตกลงร่วมกัน โดยการนำเสนอรูปแบบระหว่างครูกับนักเรียน
จากข้อมูลที่นำเสนอเกี่ยวกับ
การจัดการศึกษารูปแบบ ลักษณะและประเภทของโครงงาน พอสรุปได้ว่า โครงงานมี 4 ประเภท
ได้แก่ โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทการพัฒนา โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีและการค้นหา
องค์ความรู้ ซึ่งโครงงานภาษาอังกฤษ เป็นโครงงานค้นหาองค์ความรู้ และไม่มีรูปแบบตายตัว อาจเป็นโครงงานที่กำหนดโครงสร้าง
ไม่กำหนดโครงสร้าง หรือกึ่งโครงสร้างก็ได้ ขึ้นอยู่กับ การตกลงร่วมกันของครูกับนักเรียน
ดังนั้นผู้นำกิจกรรมโครงงานไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องศึกษาลักษณะโครงงานภาษาอังกฤษให้เข้าใจในรายละเอียดของกิจกรรม
4.
โครงงานภาษาอังกฤษ
4.1 ความหมายและความสำคัญของโครงงานภาษาอังกฤษ
ไดแอน ฟิลลิป (Diane
Phillips, Sarah Burwood & Helen Dinford: 1999,P6 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงงานไว้ดังนี้
1) โครงงานเป็นการบูรณาการของหน่วยชิ้นงาน
ตั้งแต่เริ่มต้นของการทำงาน
จนกระทั่งได้ชิ้นงานสุดท้ายจากหลายๆกลุ่มในหัวเรื่องเดียวกัน ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสุข ความภูมิใจในภาพรวมของความสำเร็จ
2) โครงงานพัฒนาผู้เรียนโดยองค์รวม เพราะได้ทั้งทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ การสรุป การอ่าน
การวางแผน ทักษะทางกายเช่นการเคลื่อนไหว
การทำงานฝีมือ ทักษะทางสังคม การทำงานร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกัน
การยอมรับในความสามารถที่แตกต่างกัน และทักษะส่วนบุคคลเช่นความรับผิดชอบ
การทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย การรับผิดชอบต่อผลการประเมินที่ออกมาเป็นต้น
ซึ่งกระบวนการนี้เป็นตัวช่วยพัฒนาวุฒิภาวะของผู้เรียน
3)
โครงงานเป็นกิจกรรมที่บูรณาการความรู้ทางภาษาและทักษะ
เนื่องจากโครงงานทางภาษานั้นผู้เรียนต้องได้ใช้ภาษาที่จำเป็นในการทำกิจกรรม
หรือชิ้นงานให้สำเร็จ โครงงานจึงทำให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ
และมีเป้าหมาย
ครูต้องมีความชัดเจนในภาษาในโครงงานแต่ละเรื่องที่ผู้เรียนอาจจะพบ
หรือได้ใช้ เพราะผู้เรียนจะถือว่าตัวภาษาคือสิ่งที่จะต้องช่วยให้โครงงานนั้นสำเร็จ ไม่ใช่ต้องเรียนภาษาเพื่อเพียงให้รู้
4)
โครงงานช่วยกระตุ้นความเป็นอิสระในการเรียนรู้
ความสำเร็จของการเรียนรู้จากประสบการณ์ขึ้นอยู่กับทักษะการเรียนรู้
และการตัดสินใจเมื่ออยู่ในขั้นตอนที่ต้องไม่มีครูคอยแนะนำ
โครงงานช่วยพัฒนาทักษะการสืบค้น การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาก้าวต่อไปโดยอิสระในที่สุด
5)
โครงงานช่วยในการจัดกิจกรรมทางภาษาในห้องเรียนที่ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถ
ความสนใจ ความต้องการแตกต่างกัน
โครงงานช่วยให้นักเรียนได้ทำตามความสามารถของตนเอง
และถ้าได้ทำตามความสามารถ ความสนใจ เมื่อได้ชิ้นงานสุดท้ายออกมานักเรียนย่อมมีความภาคภูมิใจ
เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาเจตคติต่อภาษาอังกฤษ
6)
โครงงานช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในหลักสูตร
เพราะโครงงานสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริม
หรือกิจกรรมเติมเต็มในโปรแกรมการเรียนที่ได้วางไว้ในหลักสูตรแล้ว
ดังนั้นเรื่องเวลา เนื้อหากิจกรรม
วิธีการขั้นต้อนจึงสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้
มีความแตกต่างจากโครงงานวิชาอื่น
และลักษณะเฉพาะของโครงงานทางภาษา นี้จะช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้โครงงานในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
4.2 ขั้นตอนของโครงงานทางภาษา
ไซมอน ไฮเนส (2546 : 5) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและ บทบาทของครูในโครงงานอังกฤษ (Projects) สามขั้นตอนคือ
ขั้นเริ่มแรก
เป็นขั้นที่ครูจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะทำโครงงานเมื่อใด
และควรใช้ระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเหมาะสม จากนั้นจึงนำหัวข้อมาพูดคุยกับนักเรียน
กระตุ้น เร้าความสนใจให้นักเรียนได้คิดถึงหัวข้อของโครงงาน การจัดกลุ่ม แหล่งข้อมูล
วิธีการเก็บข้อมูล เวลาการทำงาน
และชิ้นงานบั้นปลายที่เหมาะสม
ขั้นตอนระหว่างการทำโครงงาน มีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ
เป็นผู้ยุติข้อโต้แย้ง หรือความไม่ลงรอยกันโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการใช้ภาษาของนักเรียน
และเป็นประธานด้วยใจที่เป็นกลางเมื่อแต่ละกลุ่มนำชิ้นงานมานำเสนอในชั้นเรียน
ขั้นสุดท้าย เป็นขั้นตอนที่จะต้องนำเสนอชิ้นงาน
และประเมินกระบวนการทำโครงงานด้วยตนเองของนักเรียน ครูจะเป็นผู้ให้ข้อสังเกต เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือให้โครงงานประสบผลสำเร็จ
สตอลเลอร์ (Fredericka L. Stoller 2004,
111-112 Quoted in Jack
C. Richards)
ได้เสนอรูปแบบการดำเนินการสอนด้วยโครงงาน
10 ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของครูและนักเรียนมีความหมาย และประสบผลสำเร็จมากขึ้น
ซึ่งมีขั้นตอนที่ครูและนักเรียนต้องสำรวจตรวจสอบภาษาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
พอสรุปได้นี้
1)
ผู้เรียนและผู้สอน ตกลงในหัวเรื่องที่จะทำโครงงานร่วมกัน (Students
and instructor agree on a theme for the project)
2)
ผู้เรียนและผู้สอนตกลงรูปแบบการนำเสนอชิ้นงานสุดท้ายร่วมกัน (Students and
instructor determine the Final outcome) ชิ้นงานสุดท้ายอาจเป็นได้หลายอย่างเช่น
เอกสารรายงาน การจัดบอร์ด โปสเตอร์
แผ่นพับ สมุดเล่มเล็ก การโต้วาที
การนำเสนอด้วยปากเปล่า หนังสือพิมพ์ วิดิทัศน์ เป็นต้น
3)
ผู้เรียนและผู้สอนวางโครงสร้างของโครงงาน (Students and instructor
structure
the project)
เป็นการพิจารณาถึงการรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล บทบาทหน้าที่สมาชิกในกลุ่มผู้ทำโครงงาน
ระยะเวลาการทำโครงงาน
4)
ครูเตรียม/ช่วยเหลือนักเรียนในขั้นตอนที่ 5 (Instructor prepares students for the
language demands of information gathering) เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีวิธีการในการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
อาจเป็นวิธีการสัมภาษณ์ การจดบันทึก
การอ่านเช่นการอ่านแบบกวาดสายตาดูภาพรวมอย่างรวดเร็ว (Skimming ) การบันทึกเทป หรือ วิดิทัศน์ ในการเก็บข้อมูล
5)
นักเรียนรวบรวมข้อมูล (Students gather information) เป็นขั้นตอนการทำงานของผู้เรียนในการลงมือเก็บข้อมูล
และเรียบเรียงเพื่อความเข้าใจ และการนำข้อมูลมาใช้
7)
ผู้สอนเตรียมนักเรียนในการวิเคราะห์ข้อมูล (Instructor prepares students
for the language demands of compiling and analyzing data ) เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในการวิเคราะห์ข้อมูล
แยกแยะและคัดเลือกข้อมูลที่ได้ จัดลำดับ
เรียบเรียงให้เหมาะสมกับกับชิ้นงานสุดท้ายที่จะนำเสนอ อาจเป็นการสอนให้รู้จักการสรุปความ หรือการเลือกคำสำคัญเพื่อนำเสนอในแผ่นชาร์ท
8)
นักเรียนรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (Students compile and Analyze
information)
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนต้องตัดสินใจเองในการที่จะเอาข้อมูลใดในการนำเสนอ
9)
ผู้สอนเตรียม/ช่วยเหลือผู้เรียนในการนำเสนอข้อมูล
(Instructor Prepares students for the
language demands of presentation of the final product) เป็นขั้นตอน
ที่ครูผู้สอนต้องให้การช่วยเหลือผู้เรียนเกี่ยวกับภาษาการนำเสนอ อาจเป็นภาษาพูดที่นำเสนอ การตรวจสอบภาษาในชิ้นงานอันได้แก่รายงาน บอร์ด
เป็นต้น
10)
นักเรียนนำเสนอชิ้นงานสุดท้าย (Students present final
product) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนต้องนำเสนอชิ้นงานสุดท้าย
ซึ่งอาจเป็นรูปแบบนิทรรศการ การนำเสนอด้วยวาจา และมีการเชิญผู้ร่วมชมเข้าร่วมชมด้วย
11)
ประเมินโครงงาน
(Students evaluate the product) เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะได้
สะท้อน และประเมินโครงงานทั้งหมดทุกขั้นตอนที่ได้ดำเนินงานมา (reflect on
the experience) ว่าได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างไรบ้าง
หรือได้เรียนรู้เนื้อหาสาระใดเพิ่มเติมขึ้นมา (แล้วแต่ว่าได้ตกลงเป็นประเด็นการศึกษา
ไว้ในขั้นที่ 1 หรือ 2 หรือไม่ )
เมื่อพิจารณาขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงาน
จะเห็นว่านักการศึกษามีขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนมากน้อยไม่เท่ากัน โดยเฉพาะโครงงานทางภาษาไม่มีขั้นตอนตายตัว
แต่พิจารณาในกิจกรรมของแต่ละขั้นของ ของนักการศึกษาที่ได้กล่าวมา พอสามารถสรุปได้ว่ามีขั้นตอนหลักๆ
สามขั้นตอนคือ
ขั้นเตรียมหรือขั้นเริ่มต้น
ขั้นดำเนินงานโครงการหรือโครงงาน และขั้นสุดท้าย ซึ่งมีการเสนอชิ้นงาน
ประเมินและสะท้อนผลงาน
4.3 การประเมินโครงงาน
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545:208) กล่าวถึงการประเมินโครงงานว่า การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ดังนั้นการประเมินจึงประเมินตามสภาพจริงโดย 1)
สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติโครงงาน 2) ประเมินผลการจัดทำเค้าโครงงาน และ 3)ประเมินผลงานของโครงงาน
ไซมอน
ไฮเนส (2546 : 10 ) ให้ข้อคิดว่า
โครงงานมิอาจให้คะแนนได้โดยพิจารณาเพียงเนื้องาน
แม้นักเรียนแต่ละคนจะได้คะแนนตามระดับความพยายาม และการมีส่วนร่วม
หรือจากงานเขียนแต่ละชิ้น และจากการรายงานหน้าชั้น แต่ครูเองยังต้องการทราบว่านักเรียนแต่ละคนได้รับประโยชน์จาการทำโครงงานหรือไม่
มากน้อยเพียงไร การวัดผลความสำเร็จแบบเดิมๆ จึงทำไม่ได้ ในที่นี้ไซมอนได้เสนอ
การทำแบบประเมินโดยจัดเป็นหัวข้อ บวก (Plus) และ ลบ (Minus)
แบบสอบถามประเมินค่า
และวิธีการอภิปรายเรื่องโครงงานกับนักเรียนในชั้นเรียน ในประเด็น
ความรู้สึกกับการทำโครงงาน การได้เรียนรู้ สิ่งต่างๆ เช่น คำศัพท์
การพัฒนาทักษะต่างๆ ข้อมูลความรู้จากโครงงาน
สอบถามถึงกิจกรรมที่นักเรียนเห็นว่ามีประโยชน์สูงสุด สนุกที่สุด
และสอบถามถึงพัฒนาการทางภาษาว่าทำได้ดีกว่าก่อนที่จะทำโครงงานหรือไม่ สุดท้ายครูจะสามารถประเมินได้ว่า
โครงงานนี้ทำแล้วคุ้มค่าหรือไม่
จะเห็นได้ว่าการวัดและประเมินผลโครงงานนั้นจะต้องเป็นการประเมินจากสภาพจริง
คือ การทำงาน การเรียนรู้ และชิ้นงาน โดยมีการประเมินจากหลายฝ่ายรวมกัน ทั้งผู้เรียน
ผู้สอน ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และอาจรวมถึงผู้ปกครอง และผู้ชมโครงงานไม่มีการใช้ข้อสอบวัดในการประเมิน
และ 025 ชันมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
มัลลิกา พงศ์ปริตร และ ศรีภูมิ อัครมาศ (ผู้แปล
และผู้แปลร่วม)(๒๕๔๖) Projects
โครงงานอังกฤษ. กรงเทพฯ:
เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
วิมลรัตน์
สุนทรโรจน์.(๒๕๔๔) กระบวนการเรียนรู้โดยโครงงาน. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้.
กาฬสินธุ์
ฯ: ประสานการพิมพ์.
วิมลรัตน์
สุนทรโรจน์.(๒๕๔๔) นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703 พิมพ์ครั้งที่ 3.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
Diana
L. Fried-Booth (2002) Project Work (Second Edition). OXFORD University Press.
Jack C.
Richards and Willy A. Renandya.(2004) Methodology in Language Teaching An
Anthology of Current Practice. 110: Cambridge
University Press.
No comments:
Post a Comment