Friday, October 24, 2014

Reflective Teaching

 Tomas Farrell (1998) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ reflective teaching ในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหรือภาษาที่สอง ESL/EFL โดยได้อ้าง Pennington (1992) ว่า reflective teaching หรือการสะท้อนการสอน คือ การตรวจสอบทบทวนประสบการณ์ที่เกิดขึ้น  ซึ่งการสะท้อนผลนั้นเป็นทั้งปัจจัยและผลลัพธ์ของการพัฒนา   และได้เสนอแนะให้มีการใช้การสะท้อนผลเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาความมั่นใจ แรงจูงใจภายในตัวครูและนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาครูนั้น Pennington (1995) กล่าวว่า ต้องมีการพัฒนาความตระหนักรู้ (AWARENESS) สร้างให้ครูเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการพัฒนาครูนั้นเป็นระบบที่ยั่งยืน เพื่อสร้างให้ครูสามารถมีปฏิสัมพันธ์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน (innovative behavior) ของตนเองให้เข้ากับสภาพหรือบริบทที่แตกต่างกันได้ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนานวัตกรรมและการสะท้อนผลพินิจพิเคราะห์ (innovation and critical refection) โดยเธอได้ขยายความว่า การสะท้อนผลอย่างพินิจพิเคราะห์นั้นทำให้ครูสามารถสร้างกรอบการสอนขึ้นมาใหม่จากองค์ประกอบเดิมที่ขัดแย้งกันอยู่

นอกจากนั้น Richards (1990) ก็ได้กล่าว การสะท้อนคิด (Reflection) เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาครู
โดยได้อธิบายว่าความต้องการพัฒนาตนเองและการคิดวิเคราะห์ (self-inquiry and critical thinking) จะทำให้ครูเราก้าวจากระดับที่ต้องพึ่งพา กระตุ้น หรือการปฏิบัติที่เป็นกิจวัตร สัญชาติญาณ ไปสู่ระดับของการมีพฤติกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนจากการได้สะท้อนคิดพินิจพิเคราะห์

Richards กล่าวว่า การสะท้อนคิดนับเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการในการนำเอาประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาทบทวน ประเมินผล โดยเชื่อมโยงตรวจสอบกับวัตถุประสงค์กว้างๆ  ระลึกถึงประสบการณ์เดิมนี้ต้องทำอย่างครอบคลุม รอบครอบ (conscious recall) และมีการทดสอบก่อนการประเมินแล้วจึงนำไปสู่การตัดสินใจ ซึ่งการสะท้อนผลแบบนี้ทำให้ได้ข้อมูล (source) สำหรับการวางแผนและการปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

การสะท้อนคิดในด้านการสอนที่อยู่นอกเหนือวงการการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศนั้น ความหมายจะครอบคลุมไปถึงงานที่กลุ่มทางสังคมมาก
กว่าการดูพฤติกรรมการสอนบนฐานความเชื่อตามแนวคิดต่างๆ Fourell ยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง คือ Zeichner and Liston (1987) และ Dewey (1933) โดยอธิบายว่าการสอนตามความหมายของ Zeichner และ Liston ว่าเป็นการที่คนๆ หนึ่ง (ครู) สอนคนหนึ่ง (นักเรียน) เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (หลักสูตร) ในที่ใดที่หนึ่ง   ส่วน Dewey มองลึกกว่าไปอีกว่า กิจวัตรในช่วงการสอนเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่ต้องการเรียนรู้และจบลงที่สมมติฐาน  ส่วนการปฏิบัติที่เป็น Reflective action นั้น Dewey กล่าวว่าเป็นการมุ่งมั่น ลงมือปฏิบัติการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับองค์ความรู้ ความเชื่อ ทั้งในส่วนที่เป็นฐานคิดของทฤษฎีนั้นๆ และการนำไปเป็นแนวปฏิบัติ ในส่วน Zeichner and Liston (1987) กล่าวว่าการสะท้อนคิดนั้นเป็นการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับองค์ความรู้หรือแนวคิดใดๆ
แต่การกระทำที่เป็นกิจวัตรนั้นจะดำเนินไปตามระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ หรือ สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ จะมิได้มีการพินิจพิจารณาแต่อย่างใด ไม่เรียกว่าการสะท้อนคิด
Farrell ได้ศึกษาความหมายของ reflective teaching ในงานของ Schon (1983, 1987) ซึ่งได้มาจากแนวคิดของ Dewey อีกทอดหนึ่งว่า  การสะท้อนคิด ณ เวลาที่อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ (immediacy of the action) นั้นเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค การแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง เฉพาะอย่าง ซึ่งลักษณะของปัญหา หรือ สถานการณ์นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำ สามารถรู้ล่วงหน้าได้ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถปรับประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหาได้ตลอด

ในกรณีมีข้อถกเถียงว่าหากเกิดปัญหาที่มิใช่ลักษณะที่เกิดประจำ (non-routine) นั้นจะเป็นอย่างไร  Clark (1995) อธิบายว่าผู้ปฏิบัติจะจัดกรอบปัญหาที่คล้ายกัน และหาทางที่เป็นไปได้โดยกระบวนการคิดทบทวน (Spiraling process) แล้วจัดกรอบปัญหาใหม่ ข้อมูลที่ได้จะนำให้พบความรู้ใหม่สำหรับการแก้ปัญหาในอนาคต ในความคิดของ Schon กระบวนการปฏิบัติการสะท้อนผลเป็นกระบวนการจัดกรอบประเด็นที่พบ และจัดกรอบซ้ำโดยเทียบกับประสบการณ์และความรู้เดิม แล้วจึงวางแผนเมื่อปฏิบัติการในอนาคตต่อไป

Farrell ได้สรุปวิธีการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการสอนทั่วไปไม่เกี่ยวกับ
TESOL ไว้ 5 กลุ่ม คือ

(1) Technical Rationality ตามแนวคิดของ Schulman (1987) และ
Vanmanner (1977) เป็นการสะท้อนตรวจสอบทักษะหรือพฤติกรรมการสอนตามแนวคิดทฤษฎีหนึ่งๆ  โดยทำในลักษณะของการวิจัย

(2) Reflection-in-action เป็นการสะท้อนตามประเด็นในวิชาชีพที่ปรากฏขึ้น
จะมีการคิดทบทวนและแบ่งปันสิ่งที่พบ เป็นแนวคิดของ Schon (1983,1987)

(3) Reflection-on-action เป็นการย้อนคิดทบทวนหลังการสอนแล้ว
เมื่อหาเหตุและผลของการกระทำหรือพฤติกรรมในชั้นเรียน เป็นแนวคิดของ Schon ,
Hattow & Smith (1995) และ Gore & Zeichner (1987)

 (4) Reflection-for-action เป็นการคิดเพื่อวางแนวทางการปฏิบัติล่วงหน้า
(Killon & Todner,1991) เป็นการออกแบบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นโดยดูผลจากการสะท้อนทั้งสองแบบก่อนหน้า
(Reflection-in-action และ Reflection-on-action)

(5) Action research เป็นการสอบสวนหาความรู้จากการปฏิบัติการสอนอย่างเป็นระบบในที่ทำงานปกติ
เป็นการสะท้อนตนเองของผู้ปฏิบัติในสังคมหนึ่งๆ
เพื่อพัฒนาหลักการและการจัดการศึกษาของชุมชนและเพื่อความเข้าใจในผลการปฏิบัติตามสถานการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น
 ...........................................................................................................................................................................
Critical Reflection (การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

Ferrell ได้ศึกษาเรื่องการสะท้อนคิดต่อการสอนทั้งในและนอกวงการสอนภาษาอังกฤษให้ผู้พูดภาษาอื่น
(TESOL) นั้น Farrell ได้อ้างสิ่งที่ Hatton and Smith (1995) กล่าวไว้ว่า เป็นการแสดงนัยของการยอมรับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นประเด็นการพิจารณาปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรม และยังได้สรุปแนวคิดจาก Adler (1991) Gore & Zeichner  (1991)
และ Vanmanner (1977) ว่า
<p>"การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นเป็นการพิจารณาตัดสินว่าการปฏิบัติในลักษณะของวิชาชีพนั้นๆ</p>มีความเป็นธรรม เหมาะสม น่าเลื่อมใส ศรัทธาหรือไม่เพียงใด"

ในวงการ TESOL นั้น คำว่า
 "Critical Reflection"  ได้ถูกนำมาใช้แบบไม่เคร่งครัดนัก โดย Farrell ได้กล่าวถึง Richards (1990) ว่าเขาไม่ได้แยกแยะระหว่างการสะท้อนคิด(Reflection) และการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical reflection)   และไม่ได้มองกว้างออกไปถึงบริบททางสังคม
รวมทั้ง Pennington (1995) เพียงให้ความหมาย Critical reflection ว่าเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลจากนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจในการสอนของครูเท่านั้น ทางด้าน Barlelf (1990) ได้กล่าวว่าครูที่จะมีลักษณะสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นจะเชื่อมโยงเทคนิคการสอนต่างๆ และคิดทบทวนตรวจสอบ ความจำเป็นในการพัฒนาเทคนิคนั้นๆ ในสภาพของสังคม, วัฒนธรรมที่กว้างออกไป

Farrell ได้ศึกษาประเด็นการนำวิธีการปฏิบัติสะท้อนคิดไปใช้ในการศึกษาของนักการศึกษาหลายคน
ได้แก่ Hoorer (1994) , Goodson (1994) , Hatlon & Smith (1994) โดยมีประเด็นที่น่าสนใจสรุปได้ว่า
การวิเคราะห์สะท้อนผลการปฏิบัติของตนเองต้องการเวลาและโอกาสในการลงมือปฏิบัติ และมีคำถามที่น่าพิจารณา คือ 1) ในการสะท้อนผลนั้นจะดูเพียงกระบวนการปฏิบัติหรือรวมทั้งสิ่งที่ปฏิบัติด้วย 2) การสะท้อนผลนั้นมีช่วงเวลาปฏิบัติที่ เหมาะสมเป็นอย่างไรในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจบงาน หรือ ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ 3) การสะท้อนการปฏิบัตินั้นยึดเอาปัญหาเป็นหลักเพื่อหาทางแก้ไขโดยเฉพาะในประเด็นในชั้นเรียน หรือเป็นการสะท้อนทุกประเด็นตามเนื้อหา (internet characteristic of  reflection) ซึ่งอาจมีการดำเนินการโดยใช้การเรียน Journal เป็นต้น 4) การวิเคราะห์สะท้อนผลนั้นดำเนินการอย่างไรในกรณีที่ต้องคำนึงถึงลักษณะทางการเมือง, วัฒนธรรม สังคม ความเชื่อ ความคิด คุณค่าในการหาทางออกให้แต่ละปัญหา
ในมุมมองของ Halton & Smith (1995) เห็นว่าการสะท้อนผลปฏิบัตินั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นการปฏิบัติในเชิงวิชาการมิใช่เพียงกับครูเท่านั้นและในส่วนของครูนั้นตั้งการเวลาและโอกาสในการดำเนินการ และการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในกลุ่มของคนแปลกหน้านั้นทำให้ครูไม่มั่นใจ (Vulnerbility)
และประการสุดท้าย การสะท้อนคิดเกี่ยวกับการสอนของครูนั้นมีความแตกต่างกันในแนวทางแบบเดิม กับการศึกษาเพื่อพัฒนาครู ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควรเก็บมาพิจารณาหากจะนำ การสะท้อนคิดมาสู่การปฏิบัติในวิชาชีพครู


Farrell ได้เสนอแนะการนำ reflective approach มาสู่การพัฒนาการสอนของครูในสภาพที่ครูไม่มีเวลาโดยมีแนวทางที่ง่ายๆ
ที่ทำอยู่ให้มีระบบ โดยวิธีการดังนี้  
- ทำให้ครูได้เข้ากลุ่มและพูดคุยเกี่ยวกับการสอน

- ให้ครูได้รวบรวมข้อมูลจากชั้นเรียนของตนจริงๆ
และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ ตีความจัดประเด็นร่วมกัน

- ให้ครูได้สังเกตตนเองด้วยการบันทึกเหตุการณ์การสอนด้วย
กล้อง/วีดีโอ หรือรับการสังเกตจากกลุ่มสมาชิกแล้วนำมาสู่การวิเคราะห์วิพากย์ร่วมกัน

-  การเขียน  Journal หรือ อนุทิน  แล้วให้กลุ่มสมาชิกได้ทำหน้าที่สะท้อนและแนะนำ

- จัดให้มีการดำเนินงานวิจัยปฏิบัติการ (action research) เป็นโครงการเป็นเรื่องๆ ไป

- จัดให้ครูได้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ และได้เป็นสมาชิกของวารสารเชิงวิชาการวิชาชีพเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์สะท้อนตนเอง

บทสรุป 

Farrell เสนอแนะว่าครูควรได้มีโอกาสเลือกกระบวนการวิธีการในการสะท้อนการปฏิบัติการสอนของตนเองตามวัตถุประสงค์เป็นเรื่องๆ
เฉพาะคนไป อาจเป็นช่วงใดช่วงหนึ่งในระหว่างสอนในเหตุการณ์ในชั้นเรียน หรือนอกชั้นเรียน หรืออาจเป็นการสะท้อนในภาพรวมเป็นภาคเรียนไป
Farrell  สรุปว่าหากครูต้องการให้นักเรียนได้รู้จักสะท้อนคิดการเรียนรู้ของตนเอง ครูเองก็ต้องรู้จักคิดสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองก่อน  ครูเองก็ต้องรู้จักคิดสะท้อนผลตรวจสอบการสอนของตนเองอย่างจริงจัง เขาสรุปประโยชน์ของ reflective teaching สำหรับการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองและการสนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศว่ามี  4 ประการ คือ
 1) ทำให้ครูได้พัฒนางานที่ทำเป็นกิจวัตรให้ดีขึ้นเป็นอิสระมากขึ้น
 2) พัฒนา/ช่วย ครูให้หลุดพ้นจากภาวะอาการความไม่รู้ว่าจะพัฒนาอะไรอย่างไร
3) Reflective teaching จะแยกแยะครูนักวิชาการออกจากคนจ้างสอนทั่วไป
4) ในขณะที่ครูได้รับประสบการณ์จากชุมชนกลุ่มนักวิชาการ ครูได้ขยับตัวพัฒนาจากระดับการเป็นผู้สอนที่เอาตัวรอดไปวันๆ สู่การเป็นผู้รู้จักปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติของตนให้มียิ่งๆ ขึ้นเสมอ เป็นมีออาชีพอย่างแท้จริง   ดั่งเช่น คำพูดของ Dewey (1993) ว่าความเจริญงอกงามมาจากการสร้างสรรค์ประสบการณ์ Growth comes from a reconstruction of experience โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้สะท้อนผลตรวจสอบสิ่งที่ได้ปฏิบัติผ่านมาจามมุมมองเพื่อการศึกษาพัฒนาต่อเนื่อง 
 
 Source :  TESL Reporter31, 2 (1998)
Thomas Farrell,  National Institute of Education, Singapore.

2 comments:

  1. งานนี้แปลไว้เมื่อปีก่อนครับ เอามาไว้เพื่อประกอบงานวิจัย ท่านอ่านแล้วได้ความรู้ มีความเห็นต่อการเขียน เนื้อหาสาระ สำนวนที่ถอดความ เป็นอย่างไรบ้าง ขอความเห็นสะท้อนถึงผู้เขียนด้วยนะครับ ด้วยความขอบคุณ

    ReplyDelete
  2. ถ้าใช้ gmail สามารถคอมเม้นได้เลยครับ

    ReplyDelete